วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ไซโก้ Seiko Quartz Astron นาฬิกาที่เปลี่ยนโลกของการบอกเวลา

   
 25 ธันวาคม 1969 Seiko Quartz Astron นาฬิกาควอทซ์เรือนแรกของโลก

ครบรอบ 40 ปี ระบบควอทซ์
ในเดือนธันวาคมปี 2009 Seiko เริ่มปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปืของการเปิดตัวนาฬิกาควอทซ์เรือนแรกของโลก Seiko Quartz Astronการเฉลิมฉลองกำลังถูกจัดขึ้นในหลากหลายรูปแบบ เริ่มที่การจัดแสดงนาฬิการุ่นใหม่ 40 แบบที่ได้รับแรงบรรดาลใจจาก Astron ที่กรุงโตเกียวในเดือนธันวาคม ตามด้วยงาน Baselworld 2010 ที่จัดแสดงวิวัฒนาการของนาฬิกาควอทซ์และแสดงการออกแบบเทคโนโลยีการผลิตนาฬิกาสักยภาพสูงสำหรับอนาคต การจัดแสดงโครงการ Seiko Power Design จะมีขึ้นในวันที่ 1-6 ธันวาคม ในเขต Omotesando ซึ่งเป็นย่านแฟชั่นของโตเกียว นาฬิกาที่ออกแบบใหม่ทั้ง 40 แบบได้เพิ่มระบบไขลานร่วมสมัยเข้ากับการออกแบบระบบควอทซ์ของ Astron  แบบดั้งเดิม

Project 59A
โตรงการ 59A
ทุกอย่างเริ่มต้นในปี 1959 โครงการ 59A เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยและพัฒนาในห้องทดลองที่ Suwa Seiko (ตอนนี้คือ Seiko Epson) หนึ่งในผู้ผลิตของกลุ่มบริษัท Seiko จากผลการทดลองของ Pierre Curie ในปี 1880 เมื่อเขาส่งกระแสไฟฟ้าผ่านผลึกควอทซ์ จะเกิดการสั้่นสะเทือนอย่างรวดเร็วและมีความเร็วที่แม่นยำ คำถามคือ จะทำอย่างไรที่จะนำเทคนิคนี้มาใช้งานได้จริง ต่อมาในปี 1927 ช่างเทคนิคของห้องทดลอง Bell ในอเมริกาชื่อ Warren Morrison ได้สาทิตการจับเวลาที่แม่นยำด้วยผลกระทบของ "piezo-electric" เป็นครั้งแรก ปลายปี 1927 Seiko ได้สร้างนาฬิกาควอทซ์เป็นผลสำเร็จและนำมาใช้ในสถานีวิทยุและโทรทัศของประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามนาฬิกานี้มีขนาดมหึมาโดยมีความสูงถึง 2.1 เมตรและกว้างถึง 1.3 เมตรเลยทีเดียว ถ้าจะสร้างนาฬิกาข้อมือด้วยเทคโนโลยีเดียวกันนี้ดูเหมือนจะต้องอาศัยวิศวกรรมของโครงการ 59A ซึ่งเป็นการท้าทายที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่กระนั้นโครงการ 59A ก็ได้เริ่มต้นขึ้น

นาฬิกาควอทซ์ปี 1959



ในปี 1962ไซโก้ประสพความสำเร็จในการลดขนาดของนาฬิกาควอทซ์
marine chronometer ที่ใช้กับอุตสาหกรรมขนส่งของประเทศญี่ปุ่น แต่มันก็ยังมีน้ำหนักถึง 30 กิโลกรัม ด้วยวิทยาการที่ก้าวหน้าทำให้ในปีต่อมาสามารถสร้างนาฬิกาควอทซ์แบบพกพาใช้สำรองการจับเวลาในการแข่งขันกรีฑาในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงโตเกียวในปี 1964  อุปกรณ์นี้มีชื่อเรียกว่า QC-951 ได้ถูกว่างจำหน่ายในตลาดในราคา 125,000 เยน หรือ 347US$ ในอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อปี 1959

ความท้าทายที่น่าหวาดหวั่นในการย่อขนาด
Crystal Chronometer QC-951 ใช้ในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงโตเกียวในปี 1964

QC-951 พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถสร้างนาฬิกาแบบพกพาระบบควอทที่มีเสถียรภาพและเชื่อถือได้ อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่จะทำให้มันเล็กลงไปอีกยังมีอยู่ QC-951 มีขนาดรูปทรง 1760 ลูกบาศก์เซนติเมตร ในขณะที่ขนาดที่ต้องการคือ 3.74 ลูกบาศก์เซนติเมตร ดังนั้นทุกชิ้นส่วนต้องถูกย่อส่วนลง กุญแจสำคัญคือต้องสร้าง stepping motor แบบเปิดให้ได้จึงจะลดขนาดของนาฬิกาลงได้ การใช้พลังงานของระบบควอทซ์ก็จะต้องถูกลดลงด้วยจึงจะใช้แบตเตอร์รี่ขนาดเล็กได้ วิศวกรของ Seiko ได้ประดิษฐ์ IC ลูกผสมและต่อมาได้พัฒนาเป็น C-MOS IC ทำให้ระบบการขับเคลื่อนสามารถทำงานได้เป็นปีด้วยแบตเตอร์รี่ขนาดเล็ก

ปฏิบัติการปฎิวัติระบบควอทซ์
Astron Quartz รุ่น limited นำเสนอในแบบเรือนทอง 18 กะรัต จำหน่ายในกรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1969 ซึ่งมีเพียง 100 เรือนเท่านั้น เป็นวันสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตนาฬิกาที่ได้ประจักษ์ว่าเทคโนโลยีล้ำสมัยทีมีประสิทธิภาพทำให้ระบบควอทซ์มีความเที่ยงตรงแม่นยำกว่าระบบกลไกที่เคยมีมา Astron มีความเที่ยงตรงถึง 5 วินาทีต่อเดือนซึ่งมากกว่านาฬิการะบบเก่าถึง 100 เท่า
ในปี 1973 Seiko ได้เปิดตัวนาฬิกาควอทซ์แบบจอ LCD แสดงตัวเลข 6 ตัว ต่อมาในปี 1975 ได้นำเสนอนาฬิกาควอทซ์ multi-function แบบจอ LCD นำมาซึ่งความเที่ยงตรงอย่างสูงให้กับ Chronograph ต่อมาในปี 1983 Seiko ได้สร้างนาฬิกาควอทซ์ Chronograph แบบเข็ม และในปี 1988 Seiko ได้รวมเอาระบบออโตเมติคเข้ากับระบบไฟฟ้าเพื่อที่จะสร้าง A.G.S ซึ่งตอนนี้เรียกว่า Kinetic ซึ่งให้พลังงานจากการสรวมใส่ มันเปลี่ยนพลังงานจลน์เป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนระบบควอทซ์
บางทีสิ่งที่สำคัญกว่านวัตกรรมของ Seiko เหล่านี้อาจเป็นการตัดสินใจเมื่อตอนต้นยุค 70 ด้วยการจดสิทธิบัติระบบควอทซ์ ทุกวันนี้นาฬิกาควอทซ์ทั้งหมดใช้การออกแบบและเทคโนโลยีของ Seiko ทั้งนั้น

ก้าวสู่ทศวรรษที 5 ของระบบควอทซ์
สำหรับ Seiko การครบรอบ 40 ปีของระบบควอทซ์เป็นมากว่าการทบทวนความสำเร็จที่ผ่านมา แต่เป็นโอกาศในการมองไปในอนาคตความก้าวหน้าของนาฬิกาควอทซ์ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์และความเป็นผู้นำของ Seiko ในการสร้างนาฬิกาที่ใช้ไฟฟ้าคือการฉลองความสำเร็จด้วยตัวของมันเอง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีควอทซ์มีสักยภาพในการพัฒนาได้อย่างมากมายในอนาคตและ Seiko ก็จะยังคงเดินหน้าต่อไปที่จะพัฒนาและออกแบบฟังชั่นใหม่ๆ บนพื้นฐานของระบบควอทซ์
ก้าวสู่ทศวรรษที่5ของระบบควอทซ์Seikoจะนำเสนอผลิตภัณฑ์อันน่าตื่นเต้นเร้าใจอีกมากมายเพื่อพิสูจน์สักยภาพของเทคโนโลยีระบบควอทซ์ในงาน Baselworld 2010

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น